วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

มันหมู

มันหมูเป็นไขมันสัตว์ธรรมชาติ มีกรดไขมันอิ่มตัว เเละมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง เช่นกัน ซึ่งมีส่วนในการลดระดับโคเลสเตอรอลรวม และโคเลสเตอรอลไม่ดี (LDL Cholesterol) และเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลดี (HDL Cholesterol) ด้วย อีกทั้งยังไม่ผ่านกรรมวิธีแปรรูปและเคมีใดๆ จึงมั่นใจได้ว่าเมื่อใช้มันหมูที่ทนต่อ ความร้อน กรดไขมันจะไม่เปลี่ยนเป็นไขมันทรานส์ (Trans Fat) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็ง

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Electrochemical cell

เซลล์ไฟฟ้าเคมี (Electrochemical cell)

เซลล์ไฟฟ้าเคมี (Electrochemical view) คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางเคมีที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือไฟฟ้าเป็นเคมี

เซลล์ไฟฟ้าเคมี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. เซลล์กัลวานิก (Galvanic cell) คือ เซลล์ไฟฟ้าเคมีที่เปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า เกิดจากสารเคมีทำปฏิกิริยากันในเซลล์ แล้วเกิดกระแสไฟฟ้า เช่น ถ่านไฟฉาย เซลล์แอลคาไลน์ เซลล์ปรอท เซลล์เงิน แบตเตอรี่

2. เซลล์อิเล็กโทรไลต์ (Electrolytic cell) คือ เซลล์ไฟฟ้าเคมีที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเคมี เกิดจากการผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในเซลล์ แล้วเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้น เช่น เซลล์แยกน้ำด้วยไฟฟ้า การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

ส่วนประกอบของเซลล์ไฟฟ้าเคมี

1. ขั้วไฟฟ้า มี 2 ชนิด

    1.1 ขั้วว่องไว (Active electrode) ได้แก่ ขั้วโลหะทั่วไป เช่น Zn Cu Pb ขั้วพวกนี้บางโอกาสจะมีส่วนร่วมในปฏิกิริยาด้วย

    1.2 ขั้วเฉื่อย (Inert electrode) คือ ขั้วที่ไม่มีส่วนร่วมใดๆ ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น Pt C(แกรไฟต์)

    ในเซลล์ไฟฟ้าปกติ จะประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วเสมอ ดังนี้

    1. ขั้วแอโนด (Anode) คือ ขั้วที่เกิดออกซิเดชัน

    2. ขั้วแคโทด (Cathode) คือ ขั้วที่เกิดรีดักชัน 

2. สารละลายอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte)

อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) คือ สารที่มีสถานะเป็นของเหลว นำไฟฟ้าได้ เพราะมีไอออนเคลื่อนที่ไปมาอยู่ในสารละลาย

สารละลายอิเล็กโทรไลต์ มี 2 ชนิดคือ

1. สารประกอบไอออนิกหลอมเหลว เช่น สารละลาย NaCl

2. สารละลายอิเล็กโทรไลต์ เช่น สารละลายกรด เบส เกลือ

เซลล์กัลวานิก หรือเซลล์วอลตาอิก(Voltaic cell)

เซลล์กัลวานิก (Galvanic cell) คือ เซลล์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วยครึ่งเซลล์ 2 ครึ่งเซลล์มาต่อกัน และเชื่อมให้ครบวงจรโดยใช้สะพานไอออนต่อระหว่างครึ่งเซลล์ไฟฟ้าทั้งสอง


วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ปฎิกิริยาไฟฟ้าเคมี (กัลวานิก)

       ปฏิกิริยารีดอกซ์ที่เกิดขึ้นเมื่อนำแผ่นสังกะสีจุ่มลงในสารละลายของทองแดง หรือตัวรีดิวซ์จุ่มลงในตัวออกซิไดซ์โดยตรงแล้วในบทนำ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทำให้เกิดพลังงานในรูปของความร้อน แต่ถ้าแยกตัวรีดิวซ์ออกจากตัวออกซิไดซ์ แล้วเชื่อมต่อวงจรภายนอกและสะพานเกลือ (salt bridge) อิเล็กตรอนก็จะถูกถ่ายโอนผ่านตัวกลางภายนอกจากขั้วไฟฟ้าที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันไปยังขั้วไฟฟ้าที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน จึงทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้ เซลล์ไฟฟ้าที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีนี้เรียกว่าเซลล์กัลวานิก หรือเซลล์โวลตาอิก (galvanic cell or voltaic cell)

         ปฏิกิริยาออกซิเดชันที่แอโนด (Zn)                    

           Zn(s)  Zn2+(aq) + 2e-

         ปฏิกิริยารีดักชันที่แคโทด (Cu)                      

          Cu2+(aq) + 2e-  Cu(s)

          จากรูปเซลล์กัลวานิกประกอบด้วยสองครึ่งเซลล์ โดยแต่ละครึ่งเซลล์จะประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าที่จุ่มลงไปในสารละลาย แท่งสังกะสีและแท่งทองแดงในเซลล์เป็นขั้วไฟฟ้าซึ่งเรียกว่า อิเล็กโทรด (electrode) ขั้วที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน เรียกว่า ขั้วแอโนด (anode) และขั้วที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน เรียกว่าขั้วแคโทด (cathode)

          ปฏิกิริยาออกซิเดชันที่แอโนด (Zn)                 Zn(s)  Zn2+(aq) + 2e-

          ปฏิกิริยารีดักชันที่แคโทด (Cu)                      Cu2+(aq) + 2e-  Cu(s)

หมายเหตุ : ประจุที่สะสมจะทำให้ออกซิเดชันที่แคโทดและรีดักชันที่แอโนดเกิดยากขึ้น

          ระหว่างที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันขึ้นที่ขั้วแอโนด Zn จะค่อย ๆ กร่อนแล้วเกิดเป็น Zn2+ ละลายลงมาในสารละลายที่มี Zn2+ และ SO42- ส่วนที่ขั้วแคโทด Cu2+จากสารละลายเกิดปฏิกิริยารีดักชันกลายเป็นอะตอมของทองแดงเกาะอยู่ที่ผิวของขั้วไฟฟ้า เมื่อปฏิกิริยาดำเนินไปจะพบว่าในครึ่งเซลล์ออกซิเดชันสารละลายจะมีประจุบวก (Zn2+) มากกว่าประจุลบ (SO42-) และในครึ่งเซลล์รีดักชันสารละลายจะมีประจุลบ (SO42-) มากกว่าประจุบวก (Cu2+) จึงเกิดความไม่สมดุลทางไฟฟ้าขึ้น ปัญหานี้สามารถที่จะแก้ไขได้โดยการใช้ สะพานเกลือ (salt bridge) เชื่อมต่อระหว่างสองครึ่งเซลล์ ซึ่งสะพานเกลือทำจากหลอดแก้วรูปตัวยู ภายในบรรจุอิเล็กโตรไลต์ที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสารในเซลล์และมีไอออนบวก ไอออนลบเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้เคียงกัน หรือทำจากกระดาษกรองชุบอิเล็กโตรไลต์ โดยสะพานเกลือทำหน้าที่เป็นตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างครึ่งเซลล์ทั้งสอง และเป็นสิ่งที่ป้องกันการเกิดการสะสมของประจุโดยไอออนบวกจากสะพานเกลือจะเคลื่อนที่ไปยังครึ่งเซลล์ที่มีประจุลบมาก ในทางตรงกันข้ามไอออนลบก็จะเคลื่อนที่ไปยังครึ่งเซลล์ที่มีประจุมาก จึงทำให้ปฏิกิริยาดำเนินต่อไปได้ในเวลาที่มากขึ้น

          และเนื่องจากครึ่งเซลล์ทั้งสองเชื่อมต่อกับวงจรภายนอก ครึ่งเซลล์ที่มีศักย์รีดักชันสูงกว่าจะเกิดรีดักชัน และครึ่งเซลล์ที่มีศักย์รีดักชันต่ำกว่าจะ(ถูกบังคับให้)เกิดออกซิเดชัน ความต่างศักย์ระหว่างอิเล็กโทรดนี้ เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้า (electromotive force: emf) และมีหน่วยเป็นโวลต์ (volt)

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กรด-เบส ลิวอิส

ในปี ค. ศ. 1923 ( พ. ศ. 2466) ลิวอีสไดเสนอนิยามของกรดและเบสดังนี้

 กรด คือ สารที่สามารถรับอิเล็กตรอนคู่ จากเบส แล้วเกิดพันธะโคเวเลนต์

เบส คือ สารที่สามารถให้อิเล็กตรอนคู่ในการเกิดพันธะโคเวเลนต์

ปฏิกิริยาระหว่างกรด- เบส ตามทฤษฎีนี้ อธิบายในเทอมที่มีการใช้อิเล็กตรอนคู่ร่วมกัน กรดรับอิเล็กตรอนเรียกว่าเป็น Electrophile และเบสให้อิเล็กตรอนเรียกว่าเป็น Nucleophile และตามทฤษฎีนี้สารที่เป็นเบสต้องมีอิเล็กตรอนคู่อิสระ เช่น

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Procodyl delicious🎊

   
ประกอบด้วยตัวยาสำคัญคือ promethazine มีข้อบ่งใช้คือ บรรเทาอาการแพ้ ไม่ว่าจะเป็นแพ้อากาศ แพ้เกสรดอกไม้ แก้คลื่นไส้ อาเจียน เมารถ โดยมีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอนสะลึมสะลือ 
   สำหรับผู้ที่แพ้ยาโปรโคดิล อาจมีฤทธิ์ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น วิตกกังวล และถ้าหากกินมากๆ จะมีฤทธิ์กดการหายใจ โดยยาโปรโคดิล เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น ที่มักจะชอบนำตัวยาไปใช้ผสมกินในน้ำอัดลม ซึ่งในน้ำอัดลมจะมีกาเฟอีน ที่มีฤทธิ์ในการเข้าไปกระตุ้นให้ตื่น ไม่ให้ง่วงนอน พร้อมๆ กันกับโปรโคดิลที่มีฤทธิ์ให้ง่วง ดังนั้น ผู้ที่รับประทานเข้าไปจะมีอาการจะง่วงๆ มึนงง เมาๆ กึ่งหลับกึ่งตื่น

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แรงนิวเคลียร์แข้ม


เมื่อพิจารณานิวเคลียสของอะตอม ซึ่งประกอบด้วยโปรตอน และนิวตรอน พบว่าทั้งโปรตอนและนิวตรอนนั้นยึดเหนี่ยวอยู่รวมกันได้ด้วยแรงชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แต่เป็นแรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ซึ่งเกิดจากการแลกเปลี่ยนอนุภาคชนิดหนึ่ง ไป-มา ระหว่างโปรตอนและนิวตรอน โดยอนุภาคที่ถูกแลก ไป-มา ดังกล่าวนี้ มีชื่อเรียกว่า เมซอน 
 (Mesons) และการแลกเปลี่ยนเมซอนนี้จะก่อให้เกิดแรงดึงดูดที่ทำให้โปรตอนและนิวตรอนยึดติดกันได้ อนุภาคเมซอนตัวที่รู้จักกันดี ได้แก่ อนุภาคพายเมซอน ( p-Mesons ) ซึ่งประกอบด้วย ควาร์กขึ้น หรือ ควาร์กลง และปฏิอนุภาคอีก 1 ตัว ตัวอย่างเช่น อนุภาคพายเมซอนชนิดบวก จะประกอบด้วยควาร์กขึ้น 1 ตัว และแอนติควาร์กลง อีก 1 ตัว รวมกัน

.

แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม