วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

มันหมู

มันหมูเป็นไขมันสัตว์ธรรมชาติ มีกรดไขมันอิ่มตัว เเละมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง เช่นกัน ซึ่งมีส่วนในการลดระดับโคเลสเตอรอลรวม และโคเลสเตอรอลไม่ดี (LDL Cholesterol) และเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลดี (HDL Cholesterol) ด้วย อีกทั้งยังไม่ผ่านกรรมวิธีแปรรูปและเคมีใดๆ จึงมั่นใจได้ว่าเมื่อใช้มันหมูที่ทนต่อ ความร้อน กรดไขมันจะไม่เปลี่ยนเป็นไขมันทรานส์ (Trans Fat) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็ง

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Electrochemical cell

เซลล์ไฟฟ้าเคมี (Electrochemical cell)

เซลล์ไฟฟ้าเคมี (Electrochemical view) คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางเคมีที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือไฟฟ้าเป็นเคมี

เซลล์ไฟฟ้าเคมี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. เซลล์กัลวานิก (Galvanic cell) คือ เซลล์ไฟฟ้าเคมีที่เปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า เกิดจากสารเคมีทำปฏิกิริยากันในเซลล์ แล้วเกิดกระแสไฟฟ้า เช่น ถ่านไฟฉาย เซลล์แอลคาไลน์ เซลล์ปรอท เซลล์เงิน แบตเตอรี่

2. เซลล์อิเล็กโทรไลต์ (Electrolytic cell) คือ เซลล์ไฟฟ้าเคมีที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเคมี เกิดจากการผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในเซลล์ แล้วเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้น เช่น เซลล์แยกน้ำด้วยไฟฟ้า การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า

ส่วนประกอบของเซลล์ไฟฟ้าเคมี

1. ขั้วไฟฟ้า มี 2 ชนิด

    1.1 ขั้วว่องไว (Active electrode) ได้แก่ ขั้วโลหะทั่วไป เช่น Zn Cu Pb ขั้วพวกนี้บางโอกาสจะมีส่วนร่วมในปฏิกิริยาด้วย

    1.2 ขั้วเฉื่อย (Inert electrode) คือ ขั้วที่ไม่มีส่วนร่วมใดๆ ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น Pt C(แกรไฟต์)

    ในเซลล์ไฟฟ้าปกติ จะประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วเสมอ ดังนี้

    1. ขั้วแอโนด (Anode) คือ ขั้วที่เกิดออกซิเดชัน

    2. ขั้วแคโทด (Cathode) คือ ขั้วที่เกิดรีดักชัน 

2. สารละลายอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte)

อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) คือ สารที่มีสถานะเป็นของเหลว นำไฟฟ้าได้ เพราะมีไอออนเคลื่อนที่ไปมาอยู่ในสารละลาย

สารละลายอิเล็กโทรไลต์ มี 2 ชนิดคือ

1. สารประกอบไอออนิกหลอมเหลว เช่น สารละลาย NaCl

2. สารละลายอิเล็กโทรไลต์ เช่น สารละลายกรด เบส เกลือ

เซลล์กัลวานิก หรือเซลล์วอลตาอิก(Voltaic cell)

เซลล์กัลวานิก (Galvanic cell) คือ เซลล์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วยครึ่งเซลล์ 2 ครึ่งเซลล์มาต่อกัน และเชื่อมให้ครบวงจรโดยใช้สะพานไอออนต่อระหว่างครึ่งเซลล์ไฟฟ้าทั้งสอง